ค้นหา
ภาษาไทย
สินค้าตามประเภท
    เมนู ปิด
    กลับไปทั้งหมด

    5 ขั้นตอนการติดตั้งระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

    5 ขั้นตอนการติดตั้งระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

    รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle) หรือเราเรียกกันสั้นๆว่า “รถ EV” พูดง่ายๆก็คือรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแทนการใช้งานของเครื่องยนต์ ที่ทำให้กลไกการทำงานลดลง ไม่ต้องหมั่นดูแลเครื่องยนต์ และไม่มีไอเสีย ควันดำ จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง โดยรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันมีทั้งหมด 4 ประเภท แต่แบบที่ต้องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ได้นั้น มีด้วยกัน 2 ชนิดนั้นก็คือ

    • Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV)
    • Battery Electric Vehicle (BEV)

    5 ขั้นตอนการติดตั้งระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

    1. ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า : สำรวจมิเตอร์ไฟฟ้าของตัวเอง โดยปกติขนาดมิเตอร์ของบ้านพักอาศัยทั่วไปจะใช้เป็น 15(45) 1 เฟส(1P) หมายถึงมิเตอร์ขนาด 15 แอมป์(A) และสามารถใช้ไฟได้มากถึง 45(A) สำหรับคนที่ต้องการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบ้าน ทางการไฟฟ้าแนะนำให้เปลี่ยนขนาดมิเตอร์เป็น 30(100) ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ป้องกันการใช้ไฟฟ้าที่มากเกินไป 

    2. เปลี่ยนสายเมน และลูกเซอร์กิต (MCB) : สำหรับสาย Main ของเดิมใช้ขนาด 16 ตร.มม. ต้องปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 25 ตร.มม. และเปลี่ยนลูกเซอร์กิต(MCB) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้ MDB ที่แต่เดิมรองรับได้สูงสุด 45(A) เปลี่ยนเป็น 100(A) หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ขนาดมิเตอร์ ขนาดสายเมน และขนาดลูกเซอร์กิต (MCB) ต้องสอดคล้องกัน

    3. ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) : ตรวจสอบภายในตู้ว่ามีช่องว่างสำรองเหลือให้ติดตั้ง Circuit Breaker อีก 1 ช่องรึเปล่า? เพราะการชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องมีส่วนตัว แยกใช้งานกับเครื่องไฟฟ้าอื่นๆ หรือถ้าหากภายในตู้หลักไม่มีช่องว่าง ยังไงเราก็ต้องเพิ่มตู้ควบคุมย่อยอีก 1 จุด

    4. เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) : เป็นเครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดวงจรไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าออกมีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งอาจจะส่งผลให้ไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดเพลิงไหม้ได้ในอนาคต กรณีที่สายชาร์จไฟฟ้ามีระบบตัดไฟภายในตัวอยู่แล้ว เราก็ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม ทั้งนี้ทั้งนั้น EV Charger ที่ดีควรมีระบบตัดไฟอย่างน้อง RCD type A โดยมีระบบตรวจจับ DC leakage protection 6 mA

    5. เต้ารับ (EV Socket) : สำหรับการเสียบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นชนิด 3 รู (มีสายต่อหลักดิน) ต้องทนกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16(A) *แต่รูปทรงอาจจะปรับตามรูปแบบปลั๊กของรถยนต์แต่ละรุ่น* (ในกรณีชาร์จแบบ normal charge**)

    ข้อดี/ข้อเสียของรถยนต์ไฟฟ้า EV

    ข้อดี

    • รถยนต์มาพร้อมความเงียบและอัตราเร่งที่ได้ดั่งใจ
      – ตัวรถยนต์ไม่ได้ใช้เครื่องยนต์ในการขับเคลื่อน ภายในจึงไม่ก่อให้เกิดการเผาไหม้ ซึ่งทำให้เสียงการทำงานของรถยนต์ไฟฟ้านั้นเงียบกว่ารถยนต์ทั่วไป และอัตราเร่งได้เร็วกว่ารถยนต์ทั่วไป เนื่องจากไม่มีขั้นตอนการทดเกียร์

    • รถยนต์ประหยัดค่าใช้จ่ายและค่าซ่อมบำรุง
      – ด้วยความที่ไม่มีเครื่องยนต์นี้แหละ ทำให้ไม่ต้องใช้น้ำมันในการขับเคลื่อน ซึ่งราคาน้ำมันมีความผันผวนพอสมควร ส่วนค่าบำรุงรักษาก็ถูกกว่า เพราะมีอุปกรณ์น้อยชิ้นมากกว่า

    • รถยนต์ไม่ต้องเสียเวลาไปปั๊มน้ำมัน
      – เหมาะสำหรับคนที่อยู่บ้านบ่อยๆ เพราะเราสามารถชาร์จไฟได้ตลอดเวลาที่เราต้องการ ไม่จำเป็นต้องขับหาปั๊มน้ำมันด้านนอก

    • รถยนต์ไฟฟ้า EV เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
      – เนื่องจากไม่มีเครื่องยนต์ในการเผาไหม้ ทำให้ไม่ต้องปล่อยเสียหรือ CO2 ออกมาจากตัวรถ ซึ่งเป็นสาเหตุของ Global Warming ในปัจจุบัน

    ข้อเสีย

    • รถยนต์มีต้นทุนตั้งต้นที่สูง
      – แม้ว่าจะมีอัตราค่าใช้จ่ายเรื่องการเชื้อเพลิงต่ำ แต่กระบวนการผลิตต้องใช้เทคโนโลยีที่มีราคาสูง ทำให้ตัวรถมีราคาสูงตามไปด้วย รวมถึงยังไม่ไปที่นิยมมากนักในปัจจุบัน

    • ระยะทางจำกัด
      – รถไฟฟ้า EV จำเป็นต้องพึ่งพาพลังงานจากแบตเตอรี่เป็นหลัก ซึ่งมีข้อจำกัดในการใช้งานของการใส่ประจุไฟฟ้า ทำให้ระยะทางในการขับขี่น้อยกว่ารถยนต์ทั่วไป

    • สถานีให้บริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีน้อย
      – สำหรับสถานีให้บริการส่วนใหญ่จะมีเยอะในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล แต่ถ้าใครออกไปต่างจังหวัด อาจจะมีตามหัวเมืองใหญ่ที่มีให้ใช้งานเพียงไม่กี่จุด

    • ระยะเวลาในการชาร์จไฟนาน
      – ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาเรื่องของแบตเตอรี่แล้ว แต่การชาร์จประจุก็ยังกินเวลาเป็นชั่วโมงอยู่ดี ไม่เหมือนการเติมน้ำมันใช้เวลาไม่ถึง 10 นาทีก็เสร็จ

     

    สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า EV ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับพวกเรามากๆ โดยยังมีข้อเสีย และข้อจำกัดในการใช้งานอยู่พอสมควร แต่ส่วนตัวเชื่อว่าด้วยเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตข้อจำกัดต่างๆ น่าจะถูกแก้ไขให้ดีมากยิ่งขึ้น และคนเข้าถึงได้ง่ายมากกว่าปัจจุบัน เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมไปในตัว

    ขอขอบคุณบทความดีๆจาก wallbox.in.th

    ความคิดเห็น
    แสดงความคิดเห็น ปิด
    *