ค้นหา
ภาษาไทย
สินค้าตามประเภท
    เมนู ปิด
    กลับไปทั้งหมด

    5 เทคนิคการใช้ SSD พร้อมกับฮาร์ดดิสค์เพื่อประสิทธิภาพและความคุ้มค่าขั้นสุด

    ปัจจุบันโน้ตบุ๊คหลายรุ่นโดยเฉพาะสายเกมเมอร์สเปคแรง หรือแม้กระทั่งพีซีก็ล้วนแต่ออกแบบให้สามารถติดตั้งหน่วยความจำทั้งแบบ SSD และฮาร์ดดิสค์ควบคู่กันได้โดยไม่ต้องแบ่งแยกหรือเลือกใช้แค่อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่หน่วยความจำทั้ง 2 รูปแบบก็มีจุดเด่นจุดด้อยต่างกัน วันนี้ขอแนะนำ 5 วิธีใช้หน่วยความจำทั้ง 2 แบบคู่กันให้ได้ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าสูงที่สุด

     

    1. ใช้ SSD ในการลงวินโดวส์และโปรแกรมหรือเกมที่เล่นบ่อยๆ

    อย่างแรกแน่นอนว่าหลายท่านใช้งาน SSD เพื่อลงวินโดวส์สำหรับใช้งานเป็นหลักเพราะช่วยให้เปิดวินโดวส์ได้เร็วไม่ต้องรอนาน เปิดโปรแกรมได้ไว แต่ด้วยความจุของ SSD ที่ส่วนใหญ่จะไม่สูงมาก (เพราะถ้าความจุสูงก็จะมีราคาแพง) ทำให้ถ้าเราติดตั้งโปรแกรมทุกอย่าง เกมทุกเกมลง SSD ทั้งหมดจะทำให้เต็มความจุอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเกมภาพสวยๆในปัจจุบันล้วนแต่กินพื้นที่ความจุระดับสิบจนไปถึงหลักร้อย GB นี่ยังไม่นับไฟล์งานที่เราโหลดมา ไฟล์เอกสารต่างๆในหน้า Desktop ที่ยิ่งทำให้ไดร์ฟ C ที่เป็น SSD เต็มไวมากขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นเลือกลงโปรแกรมในไดร์ฟ C สักหน่อย เน้นเฉพาะโปรแกรมที่ใช้งานบ่อยๆ ความจุไม่สูง หรือแค่บางเกมเท่านั้น ก็จะช่วยให้มีพื้นที่ใช้งานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น

     

    2.  เลือกลงโปรแกรมที่ไม่ค่อยได้ใช้ หรือเกมที่นานๆเล่นทีไว้ในฮาร์ดดิสค์

    ต่อเนื่องจากข้อแรก เมื่อไดร์ฟ C ที่เป็น SSD เลือกติดตั้งแค่บางโปรแกรม แล้วโปรแกรมที่เหลือจะไปไหนละ ก็ต้องเลือกมาลงที่ตัวฮาร์ดดิสค์แทนไงละครับ โดยเฉพาะโปรแกรมที่กินพื้นที่มาก ไปจนถึงเกมกราฟิกสูงๆ ที่แม้อาจจะเสียเวลาโหลดเกมนานอีกหน่อย แต่ก็มีพื้นที่เหลือเฟือในการใช้งานไม่ต้องกังวลว่าจะเต็มเร็ว อีกทั้งบางเกมก็ไม่ได้เล่นบ่อยๆ บางเกมเปิดช้าหน่อยครั้งแรกแต่พอโหลดเกมเสร็จแล้วก็เล่นได้อีกยาวโดยไม่ต้องโหลดฉากใหม่อีก

     

    3. คัดลอกข้อมูลลงไดร์ฟ SSD ก่อน แล้วค่อยเลือกไปเก็บที่ฮาร์ดดิสค์

    อีกเทคนิคที่อยากแนะนำคือเมื่อมีพื้นที่ใน SSD เหลือ สามารถคัดลอกข้อมูลมาพักใน SSD ก่อน จากนั้นค่อยนำไปไว้ในฮาร์ดดิสค์ กล่าวคือถ้าหากเราคัดลอกจากแฟลชไดร์ฟหรือ SSD พกพาที่มีความเร็วสูง ถ้าคัดลอกไปที่ฮาร์ดดิสค์ก่อนจะทำให้เสียเวลาอย่างมากเพราะต้องรอจากของฮาร์ดดิสค์หมุน แต่ถ้าคัดลอกไปไว้ที่ SSD ก่อน จะสามารถคัดลอกได้เร็วกว่ามาก จากนั้นเราก็นำไฟล์ไปใช้งานต่อได้เลยเสร็จแล้วค่อยโยนไปเก็บไว้ที่ฮาร์ดดิสค์ หรือคัดลอกเสร็จแล้วค่อยโยนไปไว้ที่ฮาร์ดดิสค์จะสะดวกกว่าไม่ต้องให้เจ้าของแฟลชไดร์ฟรอนานด้วย

     

     

    4. ไฟล์งานสำคัญเก็บไวในฮาร์ดดิสค์ปลอดภัยกว่า

    สำหรับท่านที่มีไฟล์งานสำคัญทื่สูญหายไม่ได้ หรือมีโปรเจ็คงานที่ต้องทำต่อเนื่อง ผมแนะนำให้เก็บไว้ที่ฮาร์ดดิสค์จะปลอดภัยกว่า เพราะต่อให้ฮาร์ดดิสค์พังก็ยังสามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้ แต่ถ้า SSD พังนี่แทบกู้ข้อมูลไม่ได้เลย หรือจะเก็บแบบคู่ขนาดไปด้วยก็ได้คือเซฟมันไว้ทั้ง SSD และ ฮาร์ดดิสค์เผื่อไว้

     

    5. ปิดเครื่องให้เหมาะสม เคลียไดร์ฟ Defragment ฮาร์ดดิสค์

    สุดท้ายจะเป็นเรื่องของการบำรุงรักษามากกว่าครับ อย่างแรกคือการปิดเครื่องที่เหมาะสมเช่นการสั่ง Shut Down ตามระบบของวินโดวส์ไม่ใช่กดปุ่มปิดที่เครื่องหรือถอดปลั๊กก่อนเครื่องดับ หากมีไฟตก ไฟดับ ไฟกระชากบ่อยๆควรมี UPS มาใช้งาน เคลียไฟล์ในถังขยะ สั่ง disk cleanup ทั้ง SSD และ ฮาร์ดดิสค์ ไปจนถึงการทำ Disk Defragment ตัวฮาร์ดดิสค์เป็นประจำก็จะช่วยให้อ่านเขียนข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น

     

    ขอขอบคุณบทความดีๆจาก notebookspec.com

    ความคิดเห็น
    แสดงความคิดเห็น ปิด
    *