ค้นหา
ภาษาไทย
สินค้าตามประเภท
    เมนู ปิด
    กลับไปทั้งหมด

    วิธีการแก้ไขปัญหาอย่างชาญฉลาด เมื่อเครื่องสำรองไฟขัดข้อง

    ทำไมคุณต้องมีเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS)
    ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ทั้งในการทำงานหรือเรื่องอื่นๆ แทบจะไม่เคยมีช่วงไหนเลยที่ไม่มี
    เครื่องสำรองไฟฟ้า (Uninterruptable Power Supply ,UPS)  เมื่อคุณซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งแล้วการลงทุนซื้อ UPS เป็นการลงทุนที่สำคัญที่สุดหากคุณสามารถทำได้ ไม่เพียงแต่คุ้มครองฮาร์ดแวร์เท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการสูญหายของข้อมูลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแก่ผู้ใช้งาน ธรรมชาติจะมีช่วงเวลาหนึ่งของมัน เมื่อกระแสไฟฟ้าในอุปกรณ์ของคุณไม่เสถียร อาจจะมีผลร้ายแรงต่อเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบภายในบ้านของคุณ ปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวข้องกับแรงดันไฟฟ้า ได้แก่ ไฟดับ (blackout) ไฟตก (brownout) สัญญาณรบกวน (noise) แรงดันกระชาก (spikes) และไฟเกิน (power surges)

     

    การลงทุนซื้อ UPS
    ก่อนที่เราจะอธิบายถึงประเด็นเกี่ยวกับความผิดปกติของแรงดันไฟฟ้า เรามาดูกันก่อนว่า UPS คืออะไรและทำงานอย่างไร? UPS เป็นอุปกรณ์ทำการสำรองไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในช่วงเกิดปัญหาไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ UPS สามารถป้องกันข้อมูลและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับมันได้ ด้วยการปรับแรงดันไฟฟ้าที่ส่งผ่านให้คงที่ UPS มีช่วงขนาดและรูปแบบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดอุปกรณ์มีจุดมุ่งหมายต่างกัน เหล่านั้นประกอบด้วยตัว UPS, Surge suppressor และ SPS สิ่งสำคัญต้องรู้จักการใช้งานให้ถูกต้องจะช่วยป้องกันอุปกรณ์ไม่ให้เสียหายได้เป็นอย่างดี

     

    ประเภทของปัญหาทางไฟฟ้าแตกต่างกัน ก่อนหน้านี้ พูดถึงว่า UPS จะช่วยป้องกันปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าได้

    • ไฟดับ (blackout) หรือเรียกว่า “ไฟฟ้าขัดข้อง” สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าขัดข้องหรือสายไฟฟ้าขาด ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการปรับปรุงซอฟต์แวร์เมื่อสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ถ้าคุณใช้ Windows 95 หรือ 98 ก่อนหน้านี้คุณอาจจำได้ว่าเมื่อเกิดไฟดับและเมื่อเริ่มใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อีกครั้งแล้วเครื่องจะรันทำการทดสอบวินิจฉัย (diagnostic test) ด้วย Windows NT และมีระบบทำให้ไม่เกิดการสูญเสียข้อมูล (Journaling file system) รวมทั้ง Windows กู้คืนจะจากเหตุการณ์ไฟดับให้กลับมาใช้งานเร็วขึ้น
       
    • ไฟตก (brownout) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด (Overload) หากคุณมีอุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวนมากที่เชื่อมต่อและใช้งานในเวลาเดียวกันนี้ อาจทำให้เกิดภาวะไฟฟ้าดับซึ่งทำให้สูญเสียกำลังไฟ ปัญหานี้มักใช้เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ แต่อาจทำให้อุปกรณ์ของคุณเสียหายได้
       
    • สัญญาณรบกวน (noise) โดยทั่วไปเกิดจากเหตุการณ์ฟ้าผ่าและสัญญาณรบกวนจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ทำให้สัญญาณไฟฟ้าไม่สะอาดส่งผ่านไปยังอุปกรณ์ของคุณ อาจทำให้ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมทำงานผิดพลาดและไฟล์ต่าง ๆเสียหายได้
       
    • แรงดันกระชาก (spikes) เกิดจากแรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันในช่วงเวลาสั้น ๆ สาเหตุทั่วไปของปัญหานี้คือ ฟ้าผ่าและจากการซ่อมแซมหรือบูรณะหลังจากไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้สิ่งที่ฉันทำตามปกติคือ ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดออกเมื่อพลังงานไฟฟ้ากลับมาแล้วให้รอสักครู่เพื่อให้แรงดันไฟฟ้าเป็นปกติก่อนที่จะเชื่อมต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าอีกครั้งบริษัทหรือการไฟฟ้ามักจะแจ้งให้คุณทราบก่อนหากมีการหยุดซ่อมบำรุงตามแผนบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า
       
    • ไฟเกิน (power surges) แรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เช่น ตู้เย็น หรือ เครื่องปรับอากาศ แรงดันไฟฟ้าเกินเกิดขึ้นในช่วงสั้น ๆ แต่อาจทำให้ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์เกิดความเสียหายหนักได้

     

    การดูแลรักษาเครื่องสำรองไฟ

    วิธีดูแลรักษาเครื่องสำรองไฟเบื้องต้น เพื่อให้ใช้ได้นานและคุ้มค่าที่สุด โดยเครื่องสำรองไฟเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานเหมือนตัวจ่ายไฟที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีความซับซ้อนมาก หากมีปัญหาจะไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง โดยเฉพาะยิ่งหากแบตเตอรี่เสื่อม แทบจะซื้อเครื่องใหม่เลยดีกว่า เพราะราคาแบตเตอรี่ ก็เกือบๆ ซื้อเครื่องใหม่ครับ ดังนั้นเราควรดูแลรักษาเครื่องสำรองไฟให้ใช้ได้นาน และคุ้มค่าที่สุดดีกว่า โดยแยกเป็นข้อ ๆ ตามนี้

    • ดูแลเรื่องความสะอาด โดยใช้ผ้าแห้งทำความสะอาดที่ตัวเครื่อง
    • ดูแลเรื่องการระบายอากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสม และปราศจากฝุ่นละออง
    • อย่านำ UPS ไปใช้งานผิดประเภท ไม่ควรนำอุปกรณ์ทำความร้อน หรือที่กินไฟมากๆ มาใช้งานกับ UPS
    • ใช้งาน UPS และปฏิบัติตามคำแนะนำต่างๆ ที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้งาน
    • ในกรณีที่ UPS มีปัญหาขัดข้อง ให้แจ้งทางฝ่ายบริการ อย่าเปิดฝาเครื่อง เพื่อทำการซ่อมเอง ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายกับตัวเอง และอาจเกิดความเสียหายกับ UPS ได้
    • ควรทำการทดสอบสภาพแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจในสภาพของแบตเตอรี่ (ทดสอบ 2 - 3 สัปดาห์ ต่อ 1 ครั้ง หรือ นานกว่านั้นก็ได้)หลังเลิกใช้งาน ควรปิดเครื่องสำรองไฟทุกครั้ง เพราะหากเกิดไฟฟ้าดับ ในขณะที่ไม่ได้ใช้งาน เช่น กลางคืน หรือ เสาร์ - อาทิตย์ จะทำให้ใช้งานแบตเตอรี่ เครื่องสำรองไฟ และหากใช้ไฟจนหมด จะทำให้อายุการใช้งานของเครื่องสำรองไฟสั้นลงได้ 
      • ก่อนทดสอบควรปิดโปรแกรม และเซฟงานต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อน เพื่อป้องกันการเสียหายหากเครื่องสำรองไฟมีปัญหา
      • ปิดสวิทซ์ไฟ INPUT ของเครื่องสำรองไฟ (ไม่ใช่สายที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไปเสียบกับเครื่องสำรองไฟนะ ดึงผิดเดี๋ยวคอมดับ)
      • ดูว่าเครื่องคอมยังเปิดปกติอยู่หรือไม่ ถ้าหากเครื่องคอมดับตามไปด้วย แสดงว่าเครื่องสำรองไฟมีปัญหา
      • รอสักพัก 3-4 นาทีแล้วก็เปิดสวิทซ์ปลั๊กพ่วงใหม่ แล้วใช้งานตามปกติ

     

    • หลังเลิกใช้งาน ควรปิดเครื่องสำรองไฟทุกครั้ง เพราะหากเกิดไฟฟ้าดับ ในขณะที่ไม่ได้ใช้งาน เช่น กลางคืน หรือ เสาร์ - อาทิตย์ จะทำให้ใช้งานแบตเตอรี่ เครื่องสำรองไฟ และหากใช้ไฟจนหมด จะทำให้อายุการใช้งานของเครื่องสำรองไฟสั้นลงได้

     

     

    ด้านการประหยัดพลังงาน

      • ปิดจอภาพคอมพิวเตอร์เมื่อไม่มีการใช้งานนานเกินกว่า15 นาที หรือตั้งโปรแกรมพักหน้าจอ
      • ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์เมื่อไม่มีการใช้งาน ติดต่อกันนานกว่า 1 ชั่วโมง และปิดเครื่องทุกครั้งหลัง เลิกการใช้งานพร้อมทั้งถอดปลั๊กออก
      • เลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่มีระบบประหยัดพลังงาน เพราะใช้กำลังไฟฟ้าลดลงร้อยละ 55 ในขณะที่รอทำงานและควรใช้จอภาพขนาดที่ไม่ใหญ่เกินไป เช่น จอภาพ ขนาด 14 นิ้ว จะใช้พลังงานน้อยกว่าจอภาพขนาด 17 นิ้ว ถึงร้อยละ 25
      • ตรวจแก้ไขเอกสารบนจอภาพแทนการตรวจแก้ไขบนเอกสารที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ จะช่วยลดการสิ้นเปลือง พลังงาน กระดาษ หมึกพิมพ์ และการสึกหรอของเครื่องพิมพ์ได้มาก
      • ติดตั้งเครือข่ายเชื่อมโยงการทำงานของเครื่องพิมพ์เพื่อใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน จะช่วยลดความสิ้นเปลืองทั้งด้านพลังงานและการซ่อมบำรุง
      • ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดในสำนักงานเมื่อเลิกใช้งาน หรือเมื่อไม่มีความต้องการใช้งานนานกว่า 1 ชั่วโมง
      • ปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้อย่างเคร่งครัดเพื่อประหยัดพลังงานและยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ต่างๆ
      • มีแผนการตรวจเช็คและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ทุกชนิดเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      • รณรงค์การประหยัดพลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์สำนักงาน อย่างจริงจังและต่อเนื่องด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ติดสติ๊กเกอร์ประชาสัมพันธ์ จัดบอร์ดนิทรรศการ เสียงตามสาย หรือให้ความรู้โดยการจัดอบรม เป็นต้น

     

    ขอขอบคุณบทความดีๆจาก sudipan

    ความคิดเห็น
    แสดงความคิดเห็น ปิด
    *