ค้นหา
ภาษาไทย
สินค้าตามประเภท
    เมนู ปิด
    กลับไปทั้งหมด

    การเลือกโปรเจคเตอร์ให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน

    ในปัจจุบัน มีโปรเจคเตอร์มากมายหลากหลายรูปแบบให้เราเลือกซื้อหรือเลือกใช้งาน สำหรับผู้ที่เคยใช้งานโปรเจคเตอร์อยู่บ่อยครั้งจะมีความชำนาญในการเลือกใช้งานดีอยู่แล้ว แต่สำหรับบุคคลทั่วไป แน่นอนว่าคงเกิดความสงสัยและมีปัญหาในการจะเลือกใช้หรือเลือกซื้ออุปกรณ์ไอทีเหล่านี้

    จากปัญหาข้างต้นทำให้เกิดคำถามว่า แล้วเราควรเลือกโปรเจคเตอร์แบบใดที่จะสามารถใช้งานอย่างถูกต้องเหมาะสมกับงานที่จะใช้ โดยเราสามารถแบ่งลักษณะของโปรเจคเตอร์ได้เป็นหัวข้อหลักๆดังนี้

    ประเภทของโปรเจคเตอร์

    1. Portable Projector หรือเจ้าโปรเจคเตอร์สำหรับพกพานั้น เป็นไปตามชื่อของมันนั่นแหละครับ เป็นโปรเจคเตอร์ขนาดเล็ก มีน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายไปใช้งานหลากหลายพื้นที่ ส่วนใหญ่จะเป็นโปรเจคเตอร์ที่สเป็กต่ำไปจนถึงสเป็กระดับกลาง

     

     

    2. Smart Projector หรือโปรเจคเตอร์ทั่วๆไป มีขนาดหรือน้ำหนักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2-3 กิโลกรัม สามารถใช้งานได้ทั้งแบบวางบนโต๊ะ หรือแขวนกับบนเพดานก็ได้ สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายประเภทอยู่ที่สเป็กของแต่ละรุ่น

     

    3. Short Throw Projector หรือโปรเจคเตอร์ระยะฉายสั้น เป็นโปรเจคเตอร์ที่มีระยะฉายสั้นกว่าโปรเจคเตอร์ทั่วๆไป เหมาะสำหรับห้องหรือพื้นที่ที่ต้องการใช้งานในพื้นที่ที่มีจำกัด

     

    4. Interactive Projector หรือโปรเจคเตอร์ที่สามารถทำการโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ เช่นโปรเจคเตอร์ที่หลายๆผู้จัดจำหน่าย มักจะใช้คำโฆษณาว่า โปรเจคเตอร์เขียนได้ นั่นเอง เป็นโปรเจคเตอร์ที่เพิ่มความสามารถในการนำเสนอให้สูงขึ้น เหมาะกับการใช้ Presentation หรือใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน

    คุณสมบัติพิเศษของแต่ละรุ่น

    นอกจากการแบ่งโปรเจคเตอร์ออกเป็นประเภทต่างๆอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีคุณสมบัติพิเศษต่างๆของแต่ละรุ่นที่เพิ่มเข้ามา เพื่อช่วยในการตัดสินใจเพิ่มเติม ดังนี้

     

    โปรเจคเตอร์ 3มิติ ในโปรเจคเตอร์หลายๆรุ่น มักจะมี 3D Mode ที่สามารถฉายภาพ 3มิติ (โปรเจคเตอร์จะไม่สามารถประมวลภาพ 2มิติ ให้เป็น 3มิติ ได้ ต้องมีไฟล์ภาพหรือวิดีโอ 3มิติ จึงจะแสดงภาพออกมาเป็น 3 มิติได้) ใช้งานควบคู่กับแว่น 3 มิติ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชม หากท่านใดต้องการใช้งานฟังก์ชั่นนี้ โปรดตรวจสอบโปรเจคเตอร์รุ่นที่ต้องการซื้อให้แน่ใจก่อนว่าสามารถฉายภาพ 3 มิติได้หรือไม่

     

    Wireless Connection ในยุคสมัยที่โทรศัพท์มือถือเปรียบเสมือนอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานเกือบจะแทนที่คอมพิวเตอร์ได้ และทุกๆคนจะมีโทรศัพท์มือถือติดตัว เราจะปฏิเสธไม่ได้กับการใช้งานในยุคสมัยใหม่ที่ต้องการเชื่อมต่อภาพออกแสดงบนหน้าจอผ่านระบบไร้สายหรือ wireless, wifi ตามแต่คนจะเรียก โดยส่วนใหญ่แล้วเราสามารถเชื่อมต่อสัญญาณภาพจากโทรศัพท์มือถือโดยใช้อุปกรณ์ที่ชื่อว่า "Wireless Dongle" ที่เป็นตัวแปลงสัญญาณโดยต่อเข้ากับเครื่องโปรเจคเตอร์ และเชื่อมต่อ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อผ่าน application หรือระบบ Screen Mirroring ก็ตาม ทำให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น

    นอกจาก Wireless Dongle แล้ว ในโปรเจคเตอร์บางรุ่น จะมี "Wireless Built-in" ทำให้เราไม่จำเป็นต้องหาอุปกรณ์เสริมใดๆ ก็สามารถเชื่อมต่อสัญญาณภาพผ่าน application ของแต่ละ brand ได้ทันที เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจทีเดียวครับ

    Specification

    เป็นที่แน่นอนว่าปัจจัยหลักในการเลือกใช้งานหรือซื้อโปรเจคเตอร์นั่นขึ้นอยู่กับสเป็กของแต่ละรุ่น หลักการทั่วไปในการเลือกใช้งานโปรเจคเตอร์ตามสเป็กเป็นลักษณะดังนี้

     

    ความสว่างของหลอดภาพ หรือ "Brightness" เป็นตัวเลือกสำคัญในการใช้งานหรือซื้อโปรเจคเตอร์ เพราะในแต่พื้นที่จะมีแสงสว่างไม่เท่ากัน บางที่เราสามารถปิดไฟฉายภาพได้เช่น ในห้อง home theater ที่ไม่ต้องการแสงสว่างเลย เราสามารถเลือกโปรเจคเตอร์ที่มีค่าความสว่างต่ำได้ แต่ไปเลือกที่ความสามารถด้านอื่นแทน สำหรับห้องที่ใช้แสงน้อยแต่ไม่ถึงกับสว่างมากก็เพิ่มแสงขึ้นมาหน่อย ประมาณ 2000 ANSI แต่หากเป็นห้องที่จำเป็นต้องเปิดไฟนำเสนองานต่างๆ ควรจะใช้ค่าความสว่างที่มากกว่า 4000 ANSI นั่นเอง

     

    ความละเอียดของภาพ หรือ "Resolution" เป็นสั่งที่บ่งบอกว่าเราสามารถฉายภาพออกมาได้ภาพคมชัดในขนาดจอที่ใหญ่ได้ขนาดไหน มีให้เลือกดังนี้
    • 800 x 600 (SVGA) (4:3)
    • 1024 x 768 (XGA) (4:3)
    • 1280 x 800 (WXGA) (16:10)
    • 1920 x 1080 (Full HD) (16:9)
    • 3840 x 2160 (UHD หรือ 4K) (16:9)

     

    อายุการใช้งานของหลอดภาพ เนื่องจากโปรเจคเตอร์ไม่เหมือนกับทีวีที่สามารถใช้งานได้ยาวนานและต่อเนื่อง แต่ได้ความสามารถที่ดีกว่าในด้านของความกว้างของหน้าจอ โปรเจคเตอร์จึงมีอายุของหลอดภาพที่สั้นกว่าทีวี จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของผู้ใช้งานหรือผู้ซื้อว่าจะเลือกรุ่นที่มีอายุการใช้งานของหลอดภาพมากน้อยเพียงใด

    ช่องเชื่อมต่อสัญญาณ

     

    Port ต่างๆนั้นก็มีผลต่อการเลือกซื้อเช่นกัน หากท่านต้องการต่อสัญญาณภาพเข่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็อาจจะต้องใช้ Port VGA หรือ Port HDMI หรือบางท่านอยากใช้ Wireless Dongle แต่โปรเจคเตอร์รุ่นนั้นไม่ช่อง USB ทำให้ต้องหา adaptor มาต่อใช้ไฟเพิ่ม ยุ่งยากไปอีก อย่าลืมตรวจสอบช่องสัญญาณตามความต้องการให้ดีก่อนซื้อทุกครั้ง

    Speaker

     

    ลำโพงก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำคัญ ในบางห้องที่ต้องการติดตั้งแบบถาวรอาจจะมีการต่อลำโพงไว้ในห้องทำให้ลำโพงในตัวเครื่องไม่มีความจำเป็น แต่หากเราไม่มีลำโพงแยกต่างหาก และต้องการใช้เสียง Speaker Built-in ก็สามารถช่วยท่านได้เช่นกัน

    สรุป

    สำหรับที่อธิบายมาทั้งหมดนั้น ผู้อ่านควรเลือกดูหยิบทุกอย่างตามที่ต้องการมารวมกันแล้วดูว่ามีรุ่นไหนที่ตรงใจตามความต้องการของเราครบทุกอย่างบ้าง หรือบางอย่างสามารถลดทอนได้หรือไม่ บางรุ่นอาจะมีที่เราต้องการเกือบทั้งหมด แต่มีบางอย่างเพิ่มขึ้นมาทำให้ราคาสูงขึ้นมาอีกนิดหน่อย ซึ่งอาจจะไม่ได้ตรงใจเราไปทุกอย่าง หรือาจจะได้ตรงตามที่ต้องการทุกอย่างเลยก็ได้ สุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่านได้เลือกซื้อหรือใช้งานโปรเจคเตอร์ได้อย่างถูกต้องตรงความต้องการและลักษณะของการใช้งาน

     

    ขอขอบคุณบทความดีๆจาก projectorpro

    ความคิดเห็น
    แสดงความคิดเห็น ปิด
    *