ค้นหา
ภาษาไทย
สินค้าตามประเภท
    เมนู ปิด
    กลับไปทั้งหมด

    ไขข้อแตกต่างระหว่าง “ ฮับเเละสวิตช์ ”

    ข้อแตกต่างระหว่าง “ ฮับเเละสวิตช์ ”             

    ฮับ (Hub) คือเป็นอุปกรณ์ศูนย์กลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆเข้าด้วยกัน

    ฮับ (HUB) ในระบบเครือข่าย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณของอุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกันการจะทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักกัน หรือส่งข้อมูลถึงกันได้จะต้องผ่านอุปกรณ์ตัวนี้ ปัจจุบันฮับถูกเปรียบเทียบกับ Switch ซึ่งมีความสามารถสูงกว่าและถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์มาตราฐานที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณในระบบเครือข่าย เรียกว่าฮับตกกระป๋องไปแล้ว โดยทั่วไปจะมีลักษณเหมือนกล่องสีเหลี่ยมแต่แบนมีความสูงประมาณ 1-3 นิ้ว แล้วแต่รุ่นมีช่องเล็กๆเอาไว้เสียบสายแลนแต่ละเส้นที่ลากโยงมาจากคอมพิวเตอร์มีหลายรุ่น เช่น Hub 4 Ports, 8 Ports, 16 Ports, 24 Ports หรือ 48 Ports เป็นต้น

    ฮับ ทำงานอย่างไร?

    เมื่อใดที่มีคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายต้องการส่งข้อมูล ฮับทำจะหน้าที่ในการทำสำเนาข้อมูลและส่งไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครือข่าย ไม่ใช่แค่คอมพิวเตอร์ แต่รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ด้วยเช่น เครื่องพิมพ์ เป็นต้น เรียกว่าส่งข้อมูลไปทั้งหมด และถ้าข้อมูลนี้เป็นของอุปกรณ์ใดอุปกรณ์นั้นก็จะรับเองอัตโนมัติและจุดด้อยของฮับที่ควรทราบคือ เวลามีอุปกรณ์ใดส่งข้อมูลในเครือข่ายผ่านฮับอุปกรณ์อื่นๆจะต้องรอให้การส่งสมบูรณ์ก่อนเปรียบเทียบได้กับถนน One-Way ห้ามส่งข้อมูลสวนทางกัน

    ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของฮับ                                      

    • ความเร็วต่ำสุดคือ 10 MBPS                                     

    • ความเร็วสูงสุดคือ 100 MBPS

    • บางรุ่นรองรับทั้ง 10 และ 100 เรียกว่า 10/100 MBPS

    MBPS ย่อมาจาก MegaBit Per Second (เมกกะบิตต่อวินาที)

             hub นั้นทำงานในระดับ layer 1 ซึ่งเป็น layer เกี่ยวข้องกับ เรื่องของการส่งสัญญาณออกไปสู่ media หรือ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสาร รวมไปถึงเรื่องของการเข้ารหัสสัญญาณเพื่อที่จะส่งออกไปเป็นค่าต่างๆในทางไฟฟ้า และ เป็น layer ที่กำหนดถึงการเชื่อมต่อต่างๆที่เป็นไปในทาง physical hubนั้นจะทำงานในลักษณะของการทวนสัญญาณ หมายถึงว่าจะทำการทำซ้ำสัญญาณนั้นอีกครัง ซึ่งเป็นคนละอย่างกับการขยายสัญญาณพอทำแล้วก็จะส่งออกไปยังเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยูโดยจะมีหลักว่าจะส่งออกไปยังทุกๆ port ยกเว้น port ที่เป็นตัวส่งสัญญาณออกมาและเมื่อปลายทางแต่ละจุดรับข้อมูลไปแล้วก็จะต้องพิจารณาข้อมูลที่ได้มาว่าข้อมูลนั้นส่งมาถึงตัวเองหรือไม่ถ้าหากไม่ใช่ข้อมูลที่จะส่งมาถึงตัวเองก็จะไม่รับข้อมูลที่ส่งมานั้น

             การทำงานในระดับนี้ ถ้าดูในส่วนของตัว hub เองนั้น จะเห็นได้ว่า ตัวของ hub นั้น เวลาส่งข้อมูลออกไป จะไม่มีการพิจารณาข้อมูลอย่างพวก mac address ของ layer 2 หรือ ip addressซึ่งเป็นของ layer 3 เลย

     switch นั้นทำงานในระดับของ layer 2 ซึ่งเป็นการทำงานในระดับของ data-link layer ในกรณีของ ethernet นั้น ก็จะมีความเกี่ยวพันกับเรื่องของ frame และพวก MAC , LLC switch นั้น เป็นอุปกรณ์ที่มีหลักการในการทำงานในลักษณะเดียวกับ อุปกรณ์จำพวก bridge ซึ่งจะมีหลักการทำงานก็คือจะส่งข้อมูลจาก port หนึ่งไปยังปลายทางที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้น ข้อมูลนั้นจะไม่ถูกส่งออกไปยัง port อื่นๆ ยกเว้นมีความจำเป็นในบางกรณี เช่น ข้อมูลที่ส่งกัน ไม่มีผู้รับที่เชื่อมต่ออยู่ใน switch ของตัวเองหรือข้อมูลที่ต้องส่งนั้นเป็นข้อมูลที่ต้องส่งออกไปในลักษณะของ broadcast หรือ multicast การที่ port ใดๆ จะส่งข้อมูลถึงกันนั้น switch ก็จะทำการตรวจสอบ mac address ของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันอยู่ และมีการทำ table เอาไว้เพื่อเก็บข้อมูลเหล่านี้ และเมื่อเวลามีการส่งข้อมูลระหว่างกันก็จะเอา mac addres ปลายทาง ที่อยู่ในส่วน header ของ frame มาเทียบกับตารางที่ตัวเองมีอยู่ซึ่งถ้าหากว่า มีข้อมูล mac address อันนั้นอยู่ในตาราง และได้มีการบันทึกเอาไว้ว่าเป็นของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่กับ port ไหนswitch ก็จะทำการส่งข้อมูลไปยัง port นั้นทันที

    Hub กับ SWITCH แตกต่างกันอย่างไร?

    Hub จะส่งข้อมูลที่เข้ามาไปยังทุกๆ พอร์ตของ Hub ยกเว้นพอร์ตที่ข้อมูลดังกล่าวเข้ามายัง Hub ในขณะที่ Switch จะทำการเรียนรู้อุปกรณ์ที่ต่อกับพอร์ตต่างๆ ทำให้ Switch ส่งข้อมูลไปยังพอร์ตที่มีเครื่องปลายทางอยู่เท่านั้น ไม่ส่งไปทุกๆ พอร์ตเหมือนกับ Hub ซึ่งส่งผลให้ปริมาณข้อมูลภายในระบบเครือข่ายไม่มากเกินความจำเป็น Hub เป็นเพียงตัวขยายสัญญาณข้อมูล (Repeater) เท่านั้น ในขณะที่ Switch จะมีการทำงานที่ซับซ้อนกว่า, มีการเรียนรู้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ, การตัดสินใจส่งข้อมูลออกไปพอร์ตใด

    ปัจจุบันในท้องตลาดที่จำหน่ายอยู่ ส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์ Switch กันหมดแล้ว เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีกว่า Hub และอุปกรณ์ Switchในท้องตลาดจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ Managed Switch และ Unmanaged Switch โดยประเภท Managed Switch จะมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถบริหารจัดการได้บนอุปกรณ์ อาทิ การจัดการด้าน VLAN (Virtual LAN) และอื่นๆ เป็นต้น


    ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก kssintertech

    ความคิดเห็น
    แสดงความคิดเห็น ปิด
    *