แบตเตอรี่และชิ้นส่วน UPS

แบตเตอรี่ คือ อุปกรณ์ที่เราใช้เก็บไฟฟ้า โดยจะรับกระแสไฟฟ้า เก็บไฟฟ้าไว้และจ่ายออกมา ให้ใช้ในเวลาที่เราต้องการ แบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเคมี เก็บไฟฟ้าไว้ในสภาพของสารเคมีและแปลงออกมาเป็นไฟฟ้า ซึ่งสารเคมีในแบตเตอรี่ยังทำงานกลับไปกลับมาได้เรื่อยๆ เป็นเวลานานๆ

แบตเตอรี่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ชนิดแห้ง (Dry Cell) คือ พวกถ่านไฟฉาย
  2. ชนิดน้ำ (Wet Cell) มี 2 ชนิด 
    • แบตเตอรี่ด่าง เช่น แบตเตอรี่ในมือถือ, วิทยุสื่อสาร
    • แบตเตอรี่ตะกั่ว – กรด (Lead – Acid Battery) คือ แบตเตอรี่ที่ใช้ในรถยนต์ทั่วไป, Traction Battery ใช้ในรถยกไฟฟ้า เป็นต้น

แบตเตอรี่สำหรับ UPS เป็นแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด ประกอบด้วยเซลล์หรือหมู่ของเซลล์ต่อเข้าด้วยกัน ในหมู่ของเซลล์ประกอบขึ้นด้วยกลุ่มของแผ่นธาตุทั้งแผ่นบวกและแผ่นลบ ซึ่งแผ่นธาตุทั้งบวกและลบทำจากโลหะต่างชนิดกันกั้นด้วยฉนวน เรียกว่า “แผ่นกั้น” โดยนำมาจุ่มไว้ใน “ELECTROLYTE” หรือที่เรียกว่า “น้ำกรดผสม” (Sulfuric Acid) น้ำกรดผสมจะทำปฏิกิริยากับแผ่นธาตุในเชิงเคมีเพื่อเปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า และแต่ละเซลล์สามารถจ่ายประจุไฟฟ้าได้ประมาณ 2 โวลต์ เซลล์ของแบตเตอรี่ส่วนมากจะถูกนำมาต่อเข้ากับ “แบบอนุกรม” (Series) ซึ่งจะเพิ่มโวลต์หรือแรงดันขึ้นเรื่อยๆ เช่น แบตเตอรี่ 12 โวลต์ จะต้องใช้จำนวนเซลล์ 6 เซลล์ มาต่อกัน แบบอนุกรม, แบตเตอรี่ 24 โวลต์ ใช้ 12 เซลล์ เป็นต้น

หลักการในการซื้อแบตเตอรี่สำหรับ UPS แบบเข้าใจง่าย

  1. ให้ดูว่าแบตเตอรี่ที่ต้องการใช้งาน มีขนาดแรงดันเท่าไร ตัวอย่าง ดังรูป  แบตเตอรี่ มีแรงดันขนาด12V

  2. ให้ดูขนาดของแบตเตอรี่ ว่ามีขนาดเท่าไร สามารถนำไปใส่กับอุปกรณ์เดิมได้หรือไม่ (กว้าง x ยาว x สูง)

  3. AH ไม่มีส่วนสำคัญมากนักให้มองหลังสุด เพราะ AH เปรียบเสมือนความจุของแบตเตอรี่ ยิ่งมาก ยิ่งสำรองไฟได้นาน แต่หาก มันเยอะขึ้นขนาดย่อมไม่เท่าเดิม จึงทำให้ไม่สามมารถใส่ลงในช่องเดิมได้