ค้นหา
ภาษาไทย
สินค้าตามประเภท
    เมนู ปิด
    กลับไปทั้งหมด

    การคำนวณเวลาและค่าใช้จ่ายในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

    การคำนวณเวลาและค่าใช้จ่ายในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

    การเลือกซื้อ EV Charger

    ปัจจัยในการเลือกซื้อ EV Charger มี 2 ส่วนคือ งบประมาณ และ การรูปแบบการใช้งาน

    สำหรับงบประมาณ แน่นอนว่าเครื่องชาร์จที่มีกำลังไฟสูงราคาก็จะสูงตามไปด้วย แต่สำหรับรูปแบบการใช้งาน หากซื้อไปใช้กับรถไฟฟ้าที่บ้าน ก็ให้มองถึง Charging Capacity ว่ารับไฟได้สูงสุดเท่าไหร่ ปกติแล้ว หากเป็นรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอิน(PHEV) ไม่ว่าจะเป็นของค่าย Benz BMW Porche ก็สามารถรับไฟได้เพียง 3.7kW หรือ 7.4kW เท่านั้น เพราะเป็นรถปลั๊กอิน แบตจึงมีขนาดเล็กตามไปด้วย

    ในทางกลับกันหากในอนาคตคาดว่าอาจจะได้ครอบครองรถไฟฟ้าที่มี Charging Capacity สูงๆ อย่างเช่น Tesla ซึ่งรับไฟได้ถึง 11kW ก็อาจติดตั้งไว้เผื่อได้

    สุดท้าย คือ ระบบการสื่อสารของ EV Charger หากมองว่าอนาคตจะเปิดให้มีการชาร์จแบบ Public (ให้คนอื่นสามารถมาชาร์จได้แบบมีค่าบริการ) ก็ควรเลือกเครื่องชาร์จที่รองรับ OCPP (Open charge point Protocol)

     

    การคำนวณเวลาและค่าใช้จ่ายในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

    ความเร็วในการชาร์จไฟรถยนต์นั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับไฟ (On-Bard Charger) หรือ ความสามารถในการดึงพลังงานไฟฟ้าของตัวรถ สั่งการไปยังเครื่อง EV Charger ของรถยนต์แต่ละรุ่น โดยทั่วไปขนาดมีตั้งแต่ 3.6kW ถึง 22kW ซึ่งทำให้ตัวเครื่องชาร์จออกแบบมาให้มีทั้งหมด 4 ขนาด คือ 3.7 kW, 7.4 kW, 11 kW, 22 kW (มาตรฐาน) ราคาเครื่องชาร์จหลากหลายมีตั้งแต่ 15,000-80,000 กว่าบาท (แล้วแต่ยี่ห้อ)

    ยกตัวอย่าง : สมมุติว่ารถยนต์ไฟฟ้ามีแบตเตอรี่รับไฟสูงสุด 7.4 kW/h โดยมีขนาดแบตเตอรี่เต็ม 45 kW เราต้องใช้เวลาชาร์จจนเต็มประมาณ 6 ชั่วโมง (หรือเอา 45 หาร 7.4) โดยเราสามารถเลือกเครื่องชาร์จไฟขนาดไหนมาใช้ก็ได้ แต่ความเร็วในการชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มจะไม่เท่ากัน

    กำลังไฟฟ้า (วัตต์) = แรงดันไฟฟ้า (โวลท์) * กระแสไฟฟ้า (แอมป์) | P (Watt) = V (Voltage) * I (Amp)

    EV Charger แบบแขวนผนัง (Wallbox) ขนาด 32A = 230V * 32A = 7360w = 7.36 kw

    สำหรับใครที่เลือกเครื่องชาร์จ EV Charger ขนาด 3.7 kW ต้องใช้เวลาชาร์จนานขึ้นเป็น 12 ชั่วโมง ในทางกลับกันหากเลือกเครื่องชาร์จขนาด 11 kW หรือ 22 kW เครื่องชาร์จก็จะลดขนาดไฟลงมาอัตโนมัติให้เหลือเพียงขนาดที่รถสามารถรับไฟได้คือ 7.4kW หมายความว่าแม้เราจะซื้อเครื่องขนาดใหญ่ แต่ถ้า On-Board Charger ของตัวรถยนต์ไม่สามารถรับได้ ก็ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด เพราะตัวรถรับได้แค่นี้ ดังนั้น เครื่องชาร์จที่เหมาะสมคือ 7.4 kW นั่นเอง

     

    คำนวณค่าไฟในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

    Example: รถยนต์ไฟฟ้า MG ZS EV ขนาด On-Board charger สูงสุดที่ 7.4 kW/h, Battery Capacity 44.5 kW, ระยะทางขับ 337 KM*

    ชาร์จไฟ 2 ชั่วโมง 7.4 kW x 4 บาท x 2 ชั่วโมง = 59.2 บาท

    ชาร์จไฟเต็ม จาก 0 –> 100% = 44.5/7.4 = 6.01 ชั่วโมง หรือ 7.4 kW x 4 บาท x 6.01 ชั่วโมง = 177.9 บาท หรือเป็น อัตรากิโลเมตรละ 0.53 บาท (โดยประมาณ)

    ความคิดเห็น
    แสดงความคิดเห็น ปิด
    *