ค้นหา
ภาษาไทย
สินค้าตามประเภท
    เมนู ปิด
    กลับไปทั้งหมด

    ดูแลเครื่องสำรองไฟยังไง? ให้ใช้งานได้นาน ๆ

    ดูแลเครื่องสำรองไฟยังไง? ให้ใช้งานได้นาน ๆ

    เนื่องจาก UPS เป็นอุปกรณ์จำพวก Power Supply ประเภทหนึ่ง มีความสลับซับซ้อนในการออกแบบ และภายในเครื่องจะมีไฟฟ้าแรงสูงอันอาจจะเป็นอันตรายได้ จึงแทบไม่มีส่วนใดที่ผู้ใช้สามารถซ่อมแซมได้เอง แต่อย่างไรก็ดีผู้ใช้สามารถบำรุงและดูแลรักษา UPS เองได้ เพื่อให้ UPS มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

    วิธีดูแลรักษาเครื่องสำรองไฟเบื้องต้น เพื่อให้ใช้ได้นานและคุ้มค่าที่สุด โดยเครื่องสำรองไฟเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานเหมือนตัวจ่ายไฟที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีความซับซ้อนมาก หากมีปัญหาจะไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง โดยเฉพาะยิ่งหากแบตเตอรี่เสื่อม ดังนั้นเราควรดูแลรักษาเครื่องสำรองไฟให้ใช้ได้นาน และคุ้มค่าที่สุด โดยแยกเป็นข้อ ๆ ตามนี้

    1. ดูแลเรื่องความสะอาด โดยใช้ผ้าแห้งทำความสะอาดที่ตัวเครื่อง
    2. ดูแลเรื่องการระบายอากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสม และปราศจากฝุ่นละออง
    3. อย่านำ UPS ไปใช้งานผิดประเภท ไม่ควรนำอุปกรณ์ทำความร้อน หรือที่กินไฟมาก ๆ มาใช้งานกับ UPS
    4. ใช้งาน UPS และปฏิบัติตามคำแนะนำต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้งาน
    5. ในกรณีที่ UPS มีปัญหาขัดข้อง ให้แจ้งทางฝ่ายบริการ อย่าเปิดฝาเครื่อง เพื่อทำการซ่อมเอง ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายกับตัวเอง และอาจเกิดความเสียหายกับ UPS ได้
    6. ควรทำการทดสอบสภาพแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจในสภาพของแบตเตอรี่

    ข้อแนะนำสำหรับการทดสอบสภาพของแบตเตอรี่

    • ทำการทดสอบอย่างง่ายๆ ด้วยวิธีการทดสอบแบตเตอรี่ของ UPS นั้นๆ ซึ่งจะระบุไว้ในคู่มือการใช้งาน เช่น สั่งทดสอบจาก Software อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง (สำหรับรุ่น L Series, ML Series, D Series, MD Series และ S Series)
    • ทำการทดสอบการสำรองไฟด้วยการถอดปลั๊ก Input ของ UPS ออกจากจุดจ่ายไฟขณะที่เปิดอุปกรณ์ใช้งานตามปกติ เป็นเวลา 3-5 นาที แล้วเสียบกลับเข้าไปใหม่ เพื่อเป็นการคายประจุ และประจุแบตเตอรี่ใหม่ ควรทำเดือนละ 1-2 ครั้ง (สำหรับรุ่น L Series, ML Series, D Series และ MD Series)

    ข้อแนะนำด้านความปลอดภัย

    • การเปลี่ยนแบตเตอรี่ในเครื่องสำรองไฟ ต้องเป็นแบตเตอรี่ชนิดเดียวกัน และจำนวนแบตเตอรี่ หรือชุดแบตเตอรี่ที่เท่ากัน 
    • การติดตั้งเครื่องสำรองไฟ หรือการเปลี่ยนแบตเตอรี่ ควรปฏิบัติตามมาตราฐานไฟฟ้า และต้องเป็นช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน
    • ห้ามทิ้งแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพแล้วปะปนกับขยะประเภทอื่น ๆ ในบ้าน และห้ามทิ้งแบตเตอรี่ในสถานที่ที่มีความร้อนสูง เพราะแบตเตอรี่อาจจะระเบิดได้
    • ห้ามติดตั้งในที่ที่มีการสั่นสะเทือนอย่างหนักตลอดเวลา
    • ควรใช้งานในสถานที่แห้ง และไม่มีประกายไฟ รวมถึงไม่เปียกชื้น เพราะอาจทำให้เกิดไฟฟ้าช๊อต และไฟฟ้าลัดวงจรได้

    การจัดเก็บและการขนส่ง

    • ห้ามจัดเก็บเครื่องสำรองไฟใกล้กับวัตถุไวไฟ หรือที่ที่มีสารกัดกร่อน มีฝุ่นละอองเป็นจำนวนมาก หรือใกล้แหล่งพลังงานที่มีความร้อนสูง และมีแดดส่องตลอดเวลา
    • การเคลื่อนย้ายเครื่องสำรองไฟ ควรปิดเครื่องสำรองไฟ พร้อมถอดอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อทั้งหมดออก

    เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน เครื่องสำรองไฟ เราควรหมั่นดูแลรักษา และทดสอบการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 1-2 ครั้ง/เดือน หรือตามที่คู่มือระบุ เพื่อให้เครื่องสำรองไฟ มีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น เพราะเครื่องสำรองไฟเป็นอุปกรณ์เสริมที่สำคัญ 

    ความคิดเห็น
    แสดงความคิดเห็น ปิด
    *