ค้นหา
ภาษาไทย
สินค้าตามประเภท
    เมนู ปิด
    กลับไปทั้งหมด

    เทคนิคการเลือกเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

    เทคนิคการเลือกเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

    การชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้านั้น ความเร็วในการชาร์จจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับไฟ (On Board Charging Capacity) ของรถแต่ละรุ่น

    ยกตัวอย่างสำหรับ Nissan Leaf แบตเตอรี่สามารถรับไฟได้สูงสุดที่ 6.6 kW/h โดย Nissan Leaf รุ่นใหม่ที่มีขนาดแบต 40 kWh จะใช้เวลาชาร์จจนเต็ม 6 ชั่วโมง แต่หากชาร์จในรูปแบบ DC Quick Charge จะใช้เวลาเพียง 40 นาที

    Nissan Leaf เป็นรถแบบ Full EV(BEV) จึงมีหัวชาร์จ ทั้งแบบ AC Normal หัวแบบ Type 1 และ DC Quick Charge หัวแบบ CHAdeMO เครื่องชาร์จที่สามารถใช้กับ Nissan Leaf ได้จึงมีทั้งแบบ AC Normal หัวแบบ Type 1 และ DC Quick Charge หัวแบบ CHAdeMO

    สำหรับเครื่องชาร์จแบบ AC Normal สามารถเลือกใช้เครื่องชาร์จ ได้ทุกขนาด ตั้งแต่ 3.7kW, 7.4kW, 11kW, 22kW
    แต่หากเลือก EV Charger ที่มีขนาด 3.7kW ก็จะต้องใช้เวลาชาร์จนานขึ้น เป็น 11 ชั่วโมง ในทางกลับกันหากเลือกเครื่องชาร์จ ที่มีขนาด 11kw หรือ 22 kW เครื่องชาร์จก็จะลดขนาดไฟลงมาอัตโนมัติให้เหลือเพียงขนาดที่รถสามารถรับไฟได้คือ 6.6kW ดังนั้น เครื่องชาร์จที่เหมาะสำหรับ Nissan Leaf คือแบบ 7.4 kW นั่นเอง

     

    ปัจจัยในการเลือกซื้อ EV Charger

    ปัจจัยในการเลือกซื้อ EV Charger มี 2 ส่วนคือ งบประมาณ และการรูปแบบการใช้งาน

    สำหรับงบประมาณ แน่นอนว่าเครืองชาร์จที่มีกำลังไฟสูงราคาก็จะสูงตามไปด้วย แต่สำหรับรูปแบบการใช้งาน หากซื้อไปใช้กับรถไฟฟ้าที่บ้าน ก็ให้มองถึง Charging Capacity ว่ารับไฟได้สูงสุดเท่าไหร่ ปกติแล้ว หากเป็นรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอิน(PHEV) ไม่ว่าจะเป็นของค่าย Benz BMW Porche ก็สามารถรับไฟได้เพียง 3.7kW หรือ 7.4kW เท่านั้น เพราะเป็นรถปลั๊กอิน แบตจึงมีขนาดเล็กตามไปด้วย

    ในทางกลับกันหากในอนาคตคาดว่าอาจจะได้ครอบครองรถไฟฟ้าที่มี Charging Capacity สูงๆ อย่างเช่น Tesla ซึ่งรับไฟได้ถึง 11kW ก็อาจติดตั้งไว้เผื่อได้

    สุดท้ายคือระบบการสื่อสารของ EV Charger หากมองว่าอนาคตจะเปิดให้มีการชาร์จแบบ Public (ให้คนอื่นสามารถมาชาร์จได้แบบมีค่าบริการ) ก็ควรเลือกเครื่องชาร์จที่รองรับ OCPP (Open charge point Protocol)

     

    การคำนวณเวลาและค่าใช้จ่ายในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

    • ความเร็วในการชาร์จไฟรถยนต์นั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับไฟ (On-Bard Charger) หรือ ความสามารถในการดึงพลังงานไฟฟ้าของตัวรถ สั่งการไปยังเครื่อง EV Charger ของรถยนต์แต่ละรุ่น โดยทั่วไปขนาดมีตั้งแต่ 3.6kW ถึง 22kW ซึ่งทำให้ตัวเครื่องชาร์จออกแบบมาให้มีทั้งหมด 4 ขนาด คือ 3.7 kW, 7.4 kW, 11 kW, 22 kW (มาตรฐาน) ราคาเครื่องชาร์จหลากหลายมีตั้งแต่ 15,000-80,000 กว่าบาท (แล้วแต่ยี่ห้อ)

    ยกตัวอย่าง : สมมุติว่ารถยนต์ไฟฟ้ามีแบตเตอรี่รับไฟสูงสุด 7.4 kW/h โดยมีขนาดแบตเตอรี่เต็ม 45 kW เราต้องใช้เวลาชาร์จจนเต็มประมาณ 6 ชั่วโมง (หรือเอา 45 หาร 7.4) โดยเราสามารถเลือกเครื่องชาร์จไฟขนาดไหนมาใช้ก็ได้ แต่ความเร็วในการชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มจะไม่เท่ากัน

    กำลังไฟฟ้า (วัตต์) = แรงดันไฟฟ้า (โวลท์) * กระแสไฟฟ้า (แอมป์) | P (Watt) = V (Voltage) * I (Amp)

    EV Charger แบบแขวนผนัง (Wallbox) ขนาด 32A = 230V * 32A = 7360w = 7.36 kw

    สำหรับใครที่เลือกเครื่องชาร์จ EV Charger ขนาด 3.7 kW ต้องใช้เวลาชาร์จนานขึ้นเป็น 12 ชั่วโมง ในทางกลับกันหากเลือกเครื่องชาร์จขนาด 11 kW หรือ 22 kW เครื่องชาร์จก็จะลดขนาดไฟลงมาอัตโนมัติให้เหลือเพียงขนาดที่รถสามารถรับไฟได้คือ 7.4kW หมายความว่าแม้เราจะซื้อเครื่องขนาดใหญ่ แต่ถ้า On-Board Charger ของตัวรถยนต์ไม่สามารถรับได้ ก็ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด เพราะตัวรถรับได้แค่นี้ ดังนั้น เครื่องชาร์จที่เหมาะสมคือ 7.4 kW นั่นเอง

     

    คำนวณค่าไฟในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

    Example: รถยนต์ไฟฟ้า MG ZS EV ขนาด On-Board charger สูงสุดที่ 7.4 kW/h, Battery Capacity 44.5 kW, ระยะทางขับ 337 KM*

    ชาร์จไฟ 2 ชั่วโมง 7.4 kW x 4 บาท x 2 ชั่วโมง = 59.2 บาท

    ชาร์จไฟเต็ม จาก 0 –> 100% = 44.5/7.4 = 6.01 ชั่วโมง หรือ 7.4 kW x 4 บาท x 6.01 ชั่วโมง = 177.9 บาท หรือเป็น อัตรากิโลเมตรละ 0.53 บาท (โดยประมาณ)

     

    ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก wallbox.in.th

    ความคิดเห็น
    แสดงความคิดเห็น ปิด
    *